คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เลือกเคสคอมพิวเตอร์อย่างไร (แบบละเอียด)

เคสคอมพิวเตอร์


                Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU เมนบอร์ด การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ 
ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น
                Case คือ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ห่อหุ้มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ เป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับฮาร์ดแวร์อื่นๆ เช่น Motherboard HDD CD-DVD PS พัดลมระบายอากาศ และ และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เป็นต้น มีลักษณะ เป็นทรงคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างภายใน ใช้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ 

                ทำไมต้องมี Case ก็เพราะว่า เวลา ยกไปไหน ก็สะดวก ป้องกันไฟดูด อุปกรณ์ถูกจัดเป็นระเบียบ เก็บไว้ใน Case ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย เช่น โดนน้ำ โดนหนูเข้าไปอยู่ แมลงสาป รวมไปถึงการป้องกัน คลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่น ๆ 

ส่วนประกอบของเคส 
                สำหรับเคสโดยปกติที่ซื้อมาใหม่หรือไม่ถูกถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนใดๆ ก็จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ 
                1. พาวเวอร์ซัพพลายหรือตัวจ่ายไฟ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเคส
                2. สายสัญญาณ Reset, Hdd Led, Power Switch, Power Led และ Speaker 
                3. น็อตและหมุดพลาสติกสำหรับยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
                4. สายไฟพาวเวอร์ สำหรับต่อไฟเข้าเมนบอร์ดต่อไฟฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นต้น

ในการเลือกเคสคอมพิวเตอร์นั้น มีหลักสำคัญอยู่ 4 ข้อใหญ่ๆ คือ

1.เลือกให้เข้ากับ Mainboard ได้



                สิ่งสำคัญก็คือ การเลือกซื้อเคสต้องให้เข้ากับ Mainboard หากคุณต้องการเคสที่มีขนาดเล็กมาก ก็ต้องดูขนาดและรุ่นของ Mainboard ให้ดีว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่ ทางที่ดีควรเลือกซื้อทั้ง 2 อย่างพร้อมๆ กันเลยจะดีกว่า จะได้ชัวร์ว่าสามารถใช้งานร่วมกันได้แน่นอน ถ้าไม่แน่ใจให้ลองสอบถามพนักงานที่ร้านดีที่สุด


                เคสคอมพิวเตอร์ก็คือตัวถังมีหน้าที่ทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างอยู่กับเป็นกลุ่มเป็นก้อน รวมถึงจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ หลักการเลือกเคสคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนนัก นอกจากหน้าตาและจำนวนช่องที่มีให้แล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาคือ Form Factor ที่ควรเลือกให้เข้ากับเมนบอร์ด เช่นหากเมนบอร์ดของคุณเป็นแบบ ATX (ซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่ใหญ่ที่สุด) ก็ควรเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดชนิดนี้ด้วย โดยหากคุณเลือกเคสที่รองรับแบบ ATX แล้วจะสามารถใส่กับบอร์ดที่เล็กกว่านี้ได้เช่นเดียวกัน (mATX) แต่ข้อเสียของเคสที่รองรับ ATX คือจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างใหญ่กว่าเคสที่รองรับสูงสุดแค่ mATX ซึ่งหลายคนจะชอบหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ละบุคคล


                นอกจากนี้ยังมีแพลทฟอร์มที่มีขนาดเล็กจิ๋วคือ ITX ซึ่งเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เช่นเอาไว้ใช้งานเป็น Home Theater PC (HTPC) เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เคสแบบ ITX และเมนบอร์ดแบบ ITX ด้วยเช่นเดียวกัน


                กลับมาดูที่แพลทฟอร์ม ATX หากเรียงตามความสูงของเคสจะแบ่งได้เป็น Full Tower, Mid Tower, Mini Tower โดย Full Tower นั้นถือว่าเป็นเคสที่มีความสูงมากที่สุดโดยอาจสูงได้มากกว่า 60CM พร้อมมีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ด้านหน้ามากมาย เหมาะสำหรับการใช้งานเป็น Server เพื่อวางไว้บนพื้น เคสทั่วไปที่เราใช้กันตามบ้านส่วนใหญ่จะเป็น Mid Tower ที่มีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ประมาณสี่ถึงห้าช่อง หรือ Mini Tower ที่มีขนาดเล็กที่สุด

ลักษณะของเคสแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้


                Tower จะมีรูปทรงเป็นแนวตั้ง ขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนใหญ่มักใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Server ที่ต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นส่วนภายใน หรือการ์ดต่างๆ




Mini Tower Casw





- Mini Tower (มินิทาวเวอร์) คือ เคสขนาดเล็ก รูปร่างกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะว่าพื้นที่ภายในแคบ

Mid Tower Case


- Mid Tower (มิดทาวเวอร์) คือ เคสขนาดกลาง เคสที่เห็นกันในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดนี้ ไม่เล็กไม่ใหญ่ มีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า ยังเหมาะที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐาน



Full Tower Case






- Full Tower (ฟูลทาวเวอร์) คือ เคสประเภทรุ่นใหญ่ ขนาดความสูงประมาณ 55-60 Cm ขึ้นไปมีช่องว่างเหนือเมนบอร์ด และ สามารถใส่ Drive ได้มากเป็นพิเศษ ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย นิยมเอามาทำเป็นเครื่อง server

Desktop case








- Desktop มีรูปทรงแนวนอน เคยเป็นที่นิยมใช้กันในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว



Barebones Case
                






- Barebones  เคสของคอมพิวเตอร์ที่มี พาวเวอร์ซัพพลาย และเมนบอร์ดอยู่ภายใน 




2.วัสดุของตัวเคส

                วัสดุที่เลือกใช้ผลิตตัวเคสเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องได้รับการระบายความร้อนที่ดี ในกรณีที่ใช้งานตลอดเวลา ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเท หรือในห้องปรับอากาศ ยิ่งต้องคำนึงถึงจุดนี้ เพราะถ้าเครื่องเกิดร้อนมากเกินไป อาจจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนภายในเสียหรือพังเร็ว หากร้อนมากๆ อาจจะทำให้ CPU ไหม้ แรมพังกันเลยทีเดียว ฉะนั้น ควรเลือกวัสดุที่สามารถระบายความร้อนได้ดีที่สุด ซึ่งวัสดุอลูมิเนียมจะสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดี อีกทั้งช่วยยืดอายุเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ด้วย แม้ต้องแลกกับราคาที่แพงขึ้นอีกสักหน่อย แต่สำหรับการใช้งานในระยะยาวก็ถือว่าคุ้ม

วัสดุที่ใช้ผลิตตัวเคสแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ



                -  อลูมิเนียม สามารถระบายความร้อนได้ดีที่สุด และราคาแพงที่สุด


                -  เหล็ก มีความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักค่อนข้างมาก สามารถระบายความร้อนได้ดี แต่สู้แบบอลูมิเนียมไม่ได้













-  อะคริลิค จะระบายความร้อนไม่ค่อยดี แต่จะเน้นไปด้านความสวยงามมากกว่าแบบอื่น





3. จำนวนพอร์ตในการเชื่อมต่อ





                โดยปกติแล้วตัวเคสคอมพิวเตอร์จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อต่างๆ มาให้มากกว่า 1 ช่องอยู่แล้ว บางตัวก็อาจจะมีช่องใส่ CD-Rom มาให้ด้วย กรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้แผ่นซีดีสำหรับติดตั้งเกม หรือ Driver ต่างๆ ส่วนพอร์ตที่สำคัญและจำเป็น เช่น USB Port, ช่องเสียง หรือช่อง Microphone ควรตรวจสอบให้ดีว่ามีมาให้กี่ช่อง เพียงพอต่อการใช้งานของคุณหรือไม่







4. ราคา

ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี เคสแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน ดังนี้

               1.Low-end  จะเป็นเคสตามที่วางขายกันอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่ก็จะจัดมาเป็นชุดครบทั้งตัวคอมพิวเตอร์ และเคส มีขนาดมาตรฐาน มีพื้นที่ใช้สอย และช่องว่างในการวาง Hardware ต่างๆ จำกัด ที่สำคัญจะมีช่องระบายอากาศเพียง 1-2 จุดเท่านั้น ส่งผลให้การระบายอากาศไม่ดีนัก หากว่าคุณเน้นการใช้งานคอมพิวเตอร์หนักๆ เช่น เล่นเกม หรือเปิดไว้ทิ้งไว้ตลอด 24 ชั่วโมงละก็ ไม่แนะนำ เคสลักษณะนี้เหมาะกับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานทั่วไป หรือเปิด-ปิดเป็นเวลา


                2.Mid-end  ตัวเคสมีขนาดมาตรฐานมากกว่าแบบ Low-end ค่ะ จะมีช่องว่างสำหรับการใช้งานมากขึ้น ทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ และชิ้นส่วนต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ พัดลมระบายความร้อน ฯลฯ ตัวเคสจะมีช่องระบายความร้อนมากขึ้น และมีพัดลมติดตั้งอย่างน้อย 3 ตัว ซึ่งเคสลักษณะนี้เหมาะสำหรับคนที่ทำงานด้านกราฟิก เล่นมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เกม หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Home servers 


                3.High-end  ส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานทั่วไป รูปร่างสูงโปร่ง มีพื้นที่ภายในเหลือเฟือสำหรับติดตั้ง Hardware หรืออุปกรณ์ชิ้นอื่นเพิ่มเติม มีพื้นที่วาง และเก็บสายต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ รวมไปถึงมีช่องระบายอากาศ และพัดลมติดอยู่ทั่วทุกทิศทาง ส่งผลให้การระบายอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะเป็นเครื่อง Server ที่ใช้สำหรับเก็บไฟล์งาน ฐานข้อมูลในสำนักงาน หรือบริษัท คนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แบบหนักหน่วง รันโปรแกรมตลอดเวลา ทำงานกราฟิกโหดๆ เล่นเกมที่ใช้ความละเอียดของภาพสูง กราฟิกแรง ใช้ GPU เยอะ ส่วนข้อเสียหลักๆ ของเคสลักษณะนี้คือ ราคาที่ค่อนข้างแพง



                อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ชิ้นนี้มีความสำคัญไม่แพ้การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เลยค่ะ โดยเฉพาะคนที่ซื้อคอมพิวเตอร์แบบจัดสเปค หรือประกอบเอง ควรคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของตนเองเป็นหลักด้วย

                นอกจากนี้ เคสคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแค่กล่องเก็บอุปกรณ์ และ Hardware เพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์คุณเช่นกัน ถ้ามีงบประมาณสูงหน่อยก็จัดแบบดีๆ ทีเดียวไปเลย รับรองว่าจะช่วยยืดอายุคอมพิวเตอร์ และ Hardware ได้นานขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเงินซ้ำซ้อนหลายรอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น