คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การเลือกและอ่านค่าแรม (RAM) แบบละเอียด

 การเลือกซื้อแรม(RAM)

                การเลือกซื้อแรม(RAM)
สำหรับแรมผมได้กล่าวไว้แล้วว่ามีหน้าอะไรบ้าง  สำหรับแรมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันเพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกให้ถูกวิธีด้วย  สำหรับขึ้นตอนการเลือกซื้อแรม  มีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้


1.ประเภทของแรม

                แน่นอนว่าสำหรับประเภทของแรมนั้น  ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดและซีพียูที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน  โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต ซีพียูแต่ละตัวก็จะรองรับแรมที่มีความเร็วบัสที่ต่างกันออกไป แต่ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแรมไปตามลำดับ เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น สำหรับคนที่จะซื้อในขณะนี้จะมีแรมอยู่แค่ 2 ประเภทเท่านั้นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แตกต่างกัน


                1.1 DDR3 เป็นแรมประเภทที่มีความเร็ว  ถึง 1,600-2,000 MHz  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูง 

                1.2 DDR4 ในขณะที่ DDR3 กำลังจะถึงขีดจำกัดความเร็ว แต่ในการใช้งานจริงผู้ใช้ยังคงคาดหวังประสิทธิภาพและแบนด์วิธที่สูงขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนา DDR SDRAM ตัวใหม่ขึ้น DDR4 มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ความจุของ DIMM ที่มากกว่า เสถียรภาพในการทำงานสูงกว่าเดิมและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า


                แรงดันไฟของ DDR4 (1.2 Volt) จะน้อยกว่า DDR3 (1.5 Volt) ซึ่งจะแปรผันเป็นการบริโภคไฟที่ลดลงถึง 15W ยิ่งไปกว่านั้น DDR4 ยังมีบัสสปีด (ฺBus Speed) ที่มากกว่า โดยมีบัสเริ่มต้นที่ 2133 MHz ไปจนถึง 3200MHz แน่นอนว่าจะส่งผลให้ตัวแรมมี Bandwidth ที่มากกว่า ทำให้ใช้งานได้ดีกว่า หรือว่าง่ายๆ ก็คือมีเลนของถนนที่มากกว่าทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้เร็วกว่า ยิ่งถ้าได้ DDR4 ที่บัสสูงๆ ยิ่งได้ประสิทธิภาพที่สูงมาก

ข้อแตกต่างระหว่าง DDR3 และ DDR4



รอยบาก DDR3 กับ DDR4

                ร่องบากที่หน่วยความจำ DDR4 จะแตกต่างจากของ DDR3 ร่องบากของทั้งสองรุ่นจะอยู่ที่ขอบเสียบ โดยร่องบากของ DDR4 จะแตกต่างออกไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันการติดตั้งหน่วยความจำในเมนบอร์ดหรือเครื่องที่ไม่รองรับ





ความหนาที่มากกว่า
                หน่วยความจำ DDR4 จะหนากว่า DDR3 เล็กน้อยเพื่อรองรับเลเยอร์สัญญาณที่มากกว่า
ความร้อนน้อยลง
                ข้อดีที่ตามมาอีกข้อนึงหลังจากการใช้พลังงานน้อยลง ก็คือความร้อนที่เกิดจากฮาร์ดแวร์จะน้อยลงไปด้วยเช่นกัน ข้อนี้อาจจะไม่เยอะมากจนสังเกตุได้ แค่ร้อนน้อยกว่าเดิมแน่นอน
DDR4 ราคาเริ่มได้ ระบบที่รองรับเพี๊ยบ เริ่มแพร่หลาย
                ปัจจัยแรกก็คือ “DDR4 ราคาเริ่มได้ ระบบที่รองรับเยอะ เริ่มมีการใช้แพร่หลาย” ที่แน่นอนว่าข้อนี้ก็เป็นหนึ่งในข้อสำคัญที่สุดที่ผู้ใช้ทั่วไปจะเริ่มหันมาใช้ DDR4 กันมากขึ้น เนื่องมากจา DDR4 เองก็มีราคาที่ถูกลงมาแล้ว เรียกได้ว่ากำเงินไป 1,x00 บาท ก็สามารถได้แรม DDR4 บัส 2133 ความจุ 8GB มาใส่ในคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ซึ่งหน้าร้านหลายๆร้านๆหลายๆดีเลอร์เองก็มีแรม DDR4 จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย 
DR4 เป็นมาตรฐาน ซื้อคอมฯใหม่ไม่อยากตกรุ่นไว ยังไงก็ต้องใช้
                แน่นอนว่าเมื่อ DDR4 เข้ามา เจ้า DDR3 ก็ต้องตกรุ่นไปตามระบบระเบียบ ซึ่งถ้าใครจะประกอบคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ บอกได้เลยว่าต้อง DDR4 เท่านั้น เพราะยิ่งนานวันเข้า DDR3 ก็จะยิ่งตกรุ่น ตกรุ่น และตกรุ่นไปเรื่อยๆ และนานวันเข้า DDR3 ก็จะหาซื้อมาอัพเกรดเพิ่มเติมยากขึ้น แถม DDR4 เนี่ยซื้อไป ยังใช้ได้ยาวๆ ด้วยนะเพราะกว่า Intel จะเปลี่ยนเจ็นจาก Skylake ไป Cannolake ก็ปี 2017 นู่นแนะ และกว่าที่แรมมาตรฐานใหม่อย่าง DDR5 จะมาก็นู่นนนน ปี 2017-2018 ดังนั้นแรม DDR4 รุ่นใหม่ซื้อไปใช้ยังก็คุ้ม 
2. ซีพียูที่ใช้
                อย่างที่ได้พูดไปในตอนแรกแล้วว่า แรมประเภทไหน จะสามารถใช้กับเครื่องของเราได้บ้าง ควรจะดูที่ซีพียู เพราะส่วนควบคุมแรมมันอยู่ในซีพียู ดังนั้น เพื่อนๆ จะต้องคำนึงถึงซีพียูที่ใช้ด้วย สมมุติว่า ถ้าอยากใช้แรมแบบ Quad channel แต่เราซื้อซีพียู Ryzen 3 มาใช้ ซึ่งมันไม่รองรับ แรมก็จะไม่วิ่งแบบ Quad channel 
                แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดมักจะชิปเซต หรือซ็อกเกต ที่รองรับซีพียูได้แตกต่างกันไป เมนบอร์ดก็จะมีการออกแบบสล็อตแรมให้แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าเราเลือกซีพียูให้ตรงกับชิปเซตและซ็อกเกตของมัน สล็อตแรมที่อยู่บนบอร์ดจะเป็นตัวที่ช่วยบอกว่ามันสามารถทำงานร่วมกับแรมแบบไหนได้บ้างครับ (อย่างเช่นบอร์ดของ Ryzen เทียบกับบอร์ดของ Threadripper เป็นต้น)
3. Channel
                แรมในปัจจุบัน สามารถส่งข้อมูลได้ในขนาด 64 บิต และในทางทฤษฎีแล้ว เมื่อเพิ่มจำนวนแผงแรม ก็น่าจะส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
                แต่ในช่วงแรก แรมยังทำงานแบบ Single channel การส่งข้อมูลจึงอยู่ในอัตราเดียว นั่นคือ 64 บิต ไม่ว่าเราจะใส่แรมเข้าไปกี่แผง แต่การระบุตำแหน่งจาก Address Bus จะบอกว่าแรมทั้ง 2 ตัวนี้ จะไม่ทำงานคู่ขนานกัน จึงเสมือนว่าแรมแต่ละแผงมันเข้าถึงข้อมูลได้แค่อย่างละ 64 บิต และไม่ได้ทำงานพร้อมกันด้วย
                แต่เมื่อมีการพัฒนาแรมแบบ Dual channel ขึ้นมา ซีพียูสามารถส่งผ่านข้อมูลของแรมได้ถึง 2 เท่า เมื่อใส่แรมในสล็อตที่ถูกต้อง นั่นหมายความว่าข้อมูลจะถูกส่งในอัตรา 64+64 บิต และแรมทั้ง 2 แผงจะทำงานคู่ขนานกัน และการระบุตำแหน่งจาก Address Bus ก็จะเข้าถึงข้อมูลพร้อมๆ กัน

                ทำนองเดียวกันกับแรม Quad channel อันนี้จะเพิ่มการส่งข้อมูลขึ้นจากเดิมอีก 4 เท่า กลายเป็น 256 บิต
                นี่จึงเป็นคำตอบจากหัวข้อทางด้านบน ว่าทำไมแรม 16 GB 1 แผง จึงทำงานได้ช้ากว่าแรม 8 GB 2 แผง แบบ Dual channel 
และเพื่อที่จะให้แรมสามารถทำงานได้อย่างดีที่สุดในโหมด multichannel ก็ควรใช้แรมที่มีสเปคเดียวกันไปเลย เพราะค่า Timing ในเม็ดแรมจะได้เหมือนกัน ไม่ทำงานเหลื่อมล้ำ
นอกจากนี้ เมนบอร์ดในปัจจุบัน จะมีสีบอกความแตกต่างของชุดแรมที่จะใส่ร่วมกัน เช่น บอร์ด Dual channel ที่มีสล็อตแรมอยู่ 4 สล็อต จะมีสล็อตที่มีสีเหมือนกันอยู่ ซึ่งถ้าเราอยากให้แรมสามารถทำงานแบบ Dual channel ก็ใส่แรมให้ถูกสี ก็สามารถใช้งานได้แล้ว
                ส่วนวิดีโอนี้จะเป็นคำตอบในกรณีที่เราซื้อแรมแบบ Quad channel kit มา แต่บอร์ดของเราใส่ได้แค่ Dual channel มันอาจจะทำงานได้ (อาจจะ) ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ผู้ผลิตแรมอาจมีการตั้งค่า Timing ต่างๆ ในแรมให้มีค่าเหมาะสมสำหรับการทำงานร่วมกันของแรม 4 แผง แต่ไม่ได้เหมาะสำหรับแรม 2 แผง
เพราะฉะนั้น การนำแรมแบบ Quad channel มาใช้กับสล็อต Dual channel ก็อาจจะใช้งานได้ แต่แนะนำว่าให้ซื้อแรมที่ถูกประเภทมาใช้งานน่าจะดีกว่า
5.Latency และ Timing
                ใครที่เคยโอเวอร์คล็อกแรม หรือเคยอ่านเกี่ยวกับการโอเวอร์คล็อกแรม น่าจะพอทราบหรือเคยได้ยินในเรื่องของ Latencyและค่า Timing กับมาบ้างแล้วนะครับ ซึ่งผมก็จะกล่าวถึงอยู่นิดหน่อย ไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมาก แค่ให้พอรู้ไว้นำไปต่อยอดอนาคตนะ
                Latency ถ้าเปิด Google Translate มันจะแปลว่าการซ่อนเร้น แอบแฝง อะไรประมาณนี้ แต่สำหรับคำแปลภาษาอังกฤษมันบอกว่า Response Time ถ้าจะพูดเป็นภาษาไทยแบบง่ายที่สุด มันคือระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูลภายในเม็ดแรม ถ้า Latency มาก จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้ช้าลง
เปรียบเทียบก็เหมือนกับการกำลังมองหาดินสอ บนโต๊ะทำงานรกๆ ซึ่งเราจะต้องนั่งมองสักพักถึงจะหามันเจอ หรือไม่ก็เหมือนค่า Ping เวลาเราเล่น DOTA 2 ค่า Ping สูง มันจะทำให้การส่งข้อมูลจากเครือยข่ายมายังเครื่องเราทำได้ช้า และส่งผลให้เกิดอาการ Lag
                ต่อมาเรามาดูเรื่องของ RAM Timing กันบ้าง ค่าพวกนี้มักพบได้บนสติกเกอร์ที่ติดอยู่บนแผงแรม เป็นค่าตัวเลข 4 ตัว เช่น 15-14-15-35 อะไรแบบนี้ ซึ่งค่าแต่ละค่า จะบ่งบอกประสิทธิภาพในการทำงานของแรมได้ด้วย
                – CAS Latency (Column Access Strobe)
เป็นค่าของเลขตัวแรก บ่งบอกถึงการล่าช้าของการส่งข้อมูลในแรม มีหน่วยเป็นรอบสัญญาณนาฬิกา (Clock cycle) เช่น ถ้า CL = 15 แสดงว่าการส่งออกข้อมูลจากแรม จะล่าช้าไป 15 รอบสัญญาณนาฬิกา ซึ่งถ้าค่านี้ยิ่งน้อย การส่งข้อมูลไปประมวลผลจะยิ่งเร็วขึ้น
                ทีนี้ แม้ตัวเลขของค่า CAS จะมีเท่ากัน แต่แรมอาจมีความถี่สัญญาณนาฬิกาต่างกัน ดังนั้น เราจะต้องคำนึงถึงส่วนนี้ด้วย จากสูตรนี้
(CAS Latency/ความเร็วของแรม) x 2000 = Latency ในหน่วยนาโนวินาที (ns)
                นั่นหมายความว่า ถ้าเรามีแรม 2 แผง ที่มีค่า CAS = 10 แต่แผงแรกแรมมีความเร็ว 1600 MHz แรมแผงที่ 2 มีความเร็ว 2400 MHz ดังนั้นค่า CAS Latency ของแรมแผงแรกจะเท่ากับ 12.5 ns ส่วนค่า CAS Latency ของแรมแผงที่ 2 จะเท่ากับ 8.33 ns ครับ แสดงว่าแรมที่มีความเร็ว 2400 MHz จะมีค่า CAS จริงๆ น้อยกว่าแรมแผงแรก
                – tRCD (Row Address to Column Address Delay)
สำหรับค่าที่ 2 จะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความล่าช้าในการค้นหาข้อมูลบนเม็ดแรม เนื่องจากข้อมูลที่บรรจุอยู่ในแรม จะถูกจัดวางในลักษณะของตาราง ดังนั้น ในการหาข้อมูลที่ถูกต้อง แรมจะต้องระบุตำแหน่งของแถวและคอลัมน์ที่มีข้อมูลที่ต้องการบรรจุอยู่ เลยมีความล่าช้าเกิดขึ้น
                – tRP (Row Precharge Time)
ค่าตัวที่ 3 จะเป็นค่าที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตำแหน่งของข้อมูล เมื่อแรมเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว และต้องการจะใช้ข้อมูลอันใหม่ ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแถวและคอลัมน์ของข้อมูลตัวใหม่ที่ต้องการส่งไปประมวลผล จึงเกิดความล่าช้า เป็นค่า tRP
                – tRAS (Row Active Time)
เป็นรอบสัญญาณต่ำสุดที่แถวนั้นๆ ในแรม จะต้องทำงาน เพื่อให้มีเวลามากพอที่จะเข้าถึงข้อมูลในแถวดังกล่าว ซึ่งค่านี้จะมีระยะเวลาค่อนข้างมากกว่าค่าอื่น เพราะต้องปล่อยทิ้งไว้ ให้สามารถหาข้อมูลในแถวที่ถูกต้องได้ก่อน จากนั้นจึงจะมีการเลือกคอลัมน์ทีหลัง
โดยส่วนใหญ่ในการทำโอเวอร์คล็อกแรม มักจะแนะนำให้ปรับ 3 ค่าแรก โดยเพิ่มหรือลดลงมาทีละ 1-2 หน่วยก่อน เมื่อไม่พบปัญหา จึงค่อยๆ ปรับค่าตัวสุดท้าย

4.หน่วยความจำ

                แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก  ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GB  ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก  แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา  เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ


การเลือกความจุของแรมให้ตรงเหมาะสมกับงาน
ประเภทของงานงานความจุของแรม
งานเอกสาร หรืองานในสำนักงานอย่างต่ำ 2 GB
งานกราฟิกอย่างต่ำ 4 GB
การออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติอย่างต่ำ 8 GB


6.ความเร็ว


                ความเร็วหรือว่า บัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน  แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน  หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรมก็เท่ากับ  เมนบอร์ดรองรับ  และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน  มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง แต่ปัญหาจะอยู่ที่ซีพียู ซีพียูบางรุ่นอาจรองรับแรมที่ความเร็วสูงสุดแค่ 2400 MHz ถ้าเราซื้อแรม 3000 MHz มา เครื่องอาจจะเปิดได้ แต่แรมจะวิ่งได้แค่ 2400 MHz หรือบางกรณีอาจเปิดเครื่องไม่ได้เลยก็มี ก็ต้องเช็คว่าตัวซีพียูที่จะใช้ด้วยว่ารองรับแรมที่ความเร็วบัสเท่าไหร่บ้าง


รายละเอียด DDR SDRAM แต่ละรุ่น

  • DDR3 SDRAM จำนวนขา 240 ขา ความถี่ 1,066-2,133 MHz
  • DDR4 SDRAM จำนวนขา 284 ขา ความถี่ เริ่มต้นที่ 2,133 MHz
DDR3 มีความเร็ว Bus คือ 1066/1333/1600/1866
DDR4 มีความเร็ว Bus คือ 2133/2400/2666/2933/3000/32000/3466/3600/4000/4133/4500

7.ก็การเลือกยี่ห้อ

                การเลือกยี่ห้อนั้นแล้วแต่งบประมาณ  แต่จะมีการรับประกันที่แตกต่างกันนิดหน่อยเท่านั้น  อย่างเช่นการเครมที่ใหม่ได้ไม่ได้  รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้น ไม่ต่างกันมากมายจนสัมผัสได้  ให้ดูที่การประกันเป็นหลัก ปัจจัยอื่นๆก็อยู่ที่งบประมาณที่มี ความชอบในดีไซน์และสีสันของแรมแต่ละยี่ห้อก็ทำออกมามีให้เลือกมากมายเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น