เมนบอร์ด (Mainboard)
มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด
1.ซ็อกเก็ตซีพียู
ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่ ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง ทั้งไมค์
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ |
3.สล็อต์ AGP ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ 5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด
7.หัวต่อ SATA ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDE ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
แหล่งต่อจ่ายไฟ |
ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า จากพาวเวอร์ซับพราย โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
ซ็อกเกตแรม |
10.ซ็อกเก็ตแรม
โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม
ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB
ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ทำความรู้จักกับเมนบอร์ด
วิธีการเลือกซื้อเมนบอร์ด
GIGABYTE MAINBOARD : (คลิกที่นี่)
ASRock : (คลิกที่นี่) (คลิกที่นี่2)
ASUS : (คลิกที่นี่)
ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ดที่สำคัญซึ่งถือเป็นหัวใจของระบบ คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ด ให้สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลถึงกันหรือทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวราบรื่นทั้ง ซีพียู แคช แรม กราฟิกการ์ด บัส ตัวควบคุม ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นตัวกำหนดชนิดและขีดจำกัดของอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ เช่น ซีพียูที่ใช้, ความเร็วบัสของซีพียูและแรมที่ใช้ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของทั้งระบบเป็นอย่างมาก และถือเป็นองค์ประกอบหลักในการนำมาใช้พิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดที่เหมาะสมด้วย โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 แบบก็คือ
- North Bridge เป็นซิปเซตที่ควบคุมการทำงานที่ควบคุมอุปกรณ์หลักใหญ่ๆ จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และกราฟฟิกการ์ด
- South Bridge เป็นซิปเซต ที่ควบคุมอุปกรณ์ที่นอกเหนือจาก North Bridge ที่ควบคุมอยู่ จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ และอุปกรต่อพ่วงทั้งหมด ถ้าจะดูว่าเมนบอร์ดใส่อุปกรณ์อะไรได้บางต้องดูที่ สเปคของ South Bridge
เราต้องทำการติดตั้งหน่วยความจำ ลงบนเมนบอร์ด ดังนั้นอย่าลืมดูจำนวน slot สำหรับติดตั้ง RAM ด้วยว่า มีเพียงพอสำหรับการ Upgrade ในอนาคตหรือไม่ ( แนะนำว่า ควรจะมีอย่างน้อย 3 - 4 ช่อง ) นอกจากนี้ เนื่องจาก RAM ยังมีมาตรฐานอยู่หลายแบบ ซึ่งประเภทของหน่วยความจำ จะถูกควบคุมโดย Chipset ว่าสามารถ รองรับการทำงานหรือไม่ รวมไปถึง ชนิดของช่องใส่ RAM ด้วยว่ามีกี่ขา
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม
วิธีการเลือกซื้อเมนบอร์ด
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นแผงวงจรที่เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในทั้งหมด ที่สำคัญจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลายอย่างที่ติดมาพร้อมกับเมนบอร์ด เพราะฉะนั้นคุณภาพในการใช้งานขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อด้วย โดยจะมีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ซ็อกเก็ต
ซ็อกเก็ตมีตำแหน่งที่ติดตั้ง ซีพียู ซึ่งจะเลือกซ็อกเก็ตแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กันที่เราเลือกซื้อซีพียูด้วย ไม่ว่าจะเป็นซ็อกเก็ตไหนเราก็ต้องที่จะเลือกซีพียูนั้นก่อน ถึงที่จะเลือกในขั้นต่อไปได้ ซึ้งได้ทำการเปรียบเทียบกับการเลือกซื้อ ซีพียู ก่อนหน้านี้แล้ว
GIGABYTE MAINBOARD : (คลิกที่นี่)
ASRock : (คลิกที่นี่) (คลิกที่นี่2)
ASUS : (คลิกที่นี่)
2.ในเรื่องซิปเซ็ต
ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ดที่สำคัญซึ่งถือเป็นหัวใจของระบบ คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ด ให้สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลถึงกันหรือทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวราบรื่นทั้ง ซีพียู แคช แรม กราฟิกการ์ด บัส ตัวควบคุม ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นตัวกำหนดชนิดและขีดจำกัดของอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ เช่น ซีพียูที่ใช้, ความเร็วบัสของซีพียูและแรมที่ใช้ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของทั้งระบบเป็นอย่างมาก และถือเป็นองค์ประกอบหลักในการนำมาใช้พิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดที่เหมาะสมด้วย โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 แบบก็คือ– North Bridge
เป็นซิปเซตที่ควบคุมการทำงานที่ควบคุมอุปกรณ์หลักใหญ่ๆ จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และกราฟฟิกการ์ด
– South Bridge
เป็นซิปเซต ที่ควบคุมอุปกรณ์ที่นอกเหนือจาก North Bridge ที่ควบคุมอยู่ จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ และอุปกรต่อพ่วงทั้งหมด ถ้าจะดูว่าเมนบอร์ดใส่อุปกรณ์อะไรได้บางต้องดูที่ สเปคของ South Bridge
3.สล็อตต่างๆ
ช่อง Slot Ram |
เราต้องทำการติดตั้งหน่วยความจำ ลงบนเมนบอร์ด ดังนั้นอย่าลืมดูจำนวน slot สำหรับติดตั้ง RAM ด้วยว่า มีเพียงพอสำหรับการ Upgrade ในอนาคตหรือไม่ ( แนะนำว่า ควรจะมีอย่างน้อย 3 - 4 ช่อง ) นอกจากนี้ เนื่องจาก RAM ยังมีมาตรฐานอยู่หลายแบบ ซึ่งประเภทของหน่วยความจำ จะถูกควบคุมโดย Chipset ว่าสามารถ รองรับการทำงานหรือไม่ รวมไปถึง ชนิดของช่องใส่ RAM ด้วยว่ามีกี่ขา
4.หน่วยความจำรอมไบออส
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม5.ยี่ห้อ
ในปัจจุบันมียี่ห้อต่างๆมากมายที่ ผลิตเมนบอร์ดขึ้นมาใช้งานเป็นจำนวนมากหลายยี่ห้อ เราควรที่จะคำนึงถึงประสิทธิภาพเป็นสำคัญ เพราะบางยี่ห้ออาจจะราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพเลย รวมไม่ถึงความเสถียนของเมนบอร์ดด้วย อาจจะไปยังเว็บบอร์ดต่างๆ หรือเว็บที่เค้ารีวิว ให้เรารู้ถึงประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสอบถามไปยังคนที่ได้ลองใช้แล้วเป็นอย่าง สมควรซื้อหรือไม่ และการทำงานว่าเป็นอย่างไร และก็การรับประกันจากตัวแทนจำหน่ายด้วย ส่วนมากในปัจจุบันจะรับประกันถึง 3 ปี เพราะในบางครั้งทางร้านเองก็อาจจะไม่สามารให้ข้อมูลได้ตรงกับข้อมูลจริงถ้ายังไงเราควรที่จะหาข้อมูลจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรงจะถูกต้องกว่า
6. รูปแบบของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดที่ขายอยู่ทุกวันนี้มีหลายขนาดหลายมาตรฐาน ไม่นับพวกเมนบอร์ดสั่งตัดพิเศษสำหรับพีซีแบรนด์ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด หรือต้องการฟีเจอร์พิเศษอีกมากมาย นับเฉพาะแค่เมนบอร์ดที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปสำหรับประกอบเครื่อง ก็มี 4-5 มาตรฐานแล้ว แล้วแต่ละแบบมีจุดเด่นจุดด่อยแตกต่างกันอย่างไรละ วันนี้ทีมงานขอพาไปรู้จักมาตรฐานเมนบอร์ดขนาดต่างๆกัน
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่ามาตรฐานที่เรียกกันเป็นตัวกำหนดแค่ขนาดเมนบอร์ด ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงขนาดแรมกี่แถว ต่อ
ฮาร์ดดิสค์ได้กี่ลูก ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิตอีกทีว่าจะใช้ชิปเซ็ตตัวไหน รองรับอุปกรณ์อะไรเท่าไรกันบ้าง ซึ่งผู้ใช้อย่างเราๆก็ต้องไปตรวจเช็คกันอีกที โดยทีมงานจะแนะนำกว้างๆก่อนตาม อุปกรณ์พื้นฐานที่ควรจะมี เรียงจากเล็กไปใหญ่
Nano-ITX (Intel NUC)
ตัวแรกจะบอกว่าเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปก็คงไม่เต็มปากนัก เพราะมันคือ Intel NUC หรือเมนบอร์ดที่มีขนาดเล็ก โดยจะมาพร้อมซีพียูเข้ามาในกล่องที่ intel หรือแต่ละแบรนด์เมนบอร์ใส่ขายเอง หรืออาจจะเป็นเมนบอร์ดขายแยก โดยซีพียูแทบจะปรับเปลี่ยนเองไม่ได้ เหมาะกับท่านที่ต้องการพีซีขนาดเล็กจิ๋ว สำหรับการใช้งานทั่วๆไป ไม่หนักมาก ไม่เน้นการอัพเกรต และมักใช้แรมของโน้ตบุ๊คที่มีขนาดเล็ก และไม่มีช่อง PCIe ให้อัพเกรตการ์ดจอหรือุปกรณ์อื่น
- Slot : RAM 2 Slot ,SATA 2 Port
- Size : 120 × 120 mm
- Slot : RAM 2 Slot ,SATA 2-4 Port ,M.2 0-1 Slot ,PCIex16 1 Slot
- Size : 170 × 170 mm
- Slot : RAM 2-4 Slot ,SATA ุ6-8 Port ,M.2 1-2 Slot ,PCIe 1-3 Slot (PCIex16 1 slot)
- Size : 244 × 244 mm
- Slot : RAM 4 Slot ,SATA 6-12 Port ,M.2 2-3 Slot ,PCIe 4-6 Slot (PCIex16 1-4 slot)
- Size : 305 × 244 mm
Mini-ITX
เป็นเมนบอร์ดที่กำลังได้รับความนิยมด้วยขนาดที่เล็กกะทัดรัด เหมาะกับเพื่อนๆที่ต้องการประกอบคอมเคสขนาดเล็กในระดับที่สามารถพกพาได้ ในงบประมาณไม่สูงมาก ราคาเมนบอร์ดแค่ระดับพันกลางๆก็หาซื้อได้แล้ว และที่สำคัญคือสามารถอัพเกรทอุปกรณ์ได้พอสมควร ไม่ว่าจะเป็น M.2 ที่บางรุ่นมีมาให้เลย หรือบางรุ่นก็ใส่เป็น WiFi Card มาให้ และที่สำคัญคือมี PCIe x 16 สำหรับติดตั้งการ์ดจอมาให้ด้วย ประกอบเครื่องเล่นเกมได้สบายๆ (ส่วนตัวผมเองก็ใช้เมนบอร์ดใซส์นี้ ใส่การ์ดจอระดับ RX480 ก็ยังไหวนะ)
Micro-ATX
อีกหนึ่งไซส์เมนบอร์ดยอดนิยม ด้วยจุดเด่นที่ไม่ใหญ่จนเกินไป สามารถใช้เคสได้เกือบทุกรุ่นบนโลกนี้ทั้งเคสเล็กหรือใหญ่ และที่สำคัญคือ สามารถอัพเกรทอุปกรณ์ได้แทบไม่ต่างไปจากเมนบอร์ดไซท์ใหญ่อย่าง ATX เลย ไม่ว่าจะแรมถึง 4 แถว SATA ที่มีให้ไม่ต่ำกว่า 6 Port บางรุ่นใส่ M.2 ได้ถึง 2 ตัว และที่สำคัญคือการ์ดจอที่บางเมนบอร์ดสามารถติดตั้งได้ 2 ตัว หรืออาจจะเป็น PCIe x 4 ที่เพิ่มการ์ด wifi หรืออุปกรณ์อื่นได้ตามสะดวก สุดท้ายคือเรื่องของระดับราคาที่มีหลากหลายตามการใช้งาน มีทุกแบรนด์ให้เลือก เหมาะกับเพื่อนๆที่ประกอบคอมขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ต้องการเผื่อสำหรับอัพเกรตระดับหนึ่งเช่นเพิ่มแรม หรือฮาร์ดดิสค์
ATX
สุดยอดไซส์เมนบอร์ดยอดนิยมที่สุดของโลกก็ว่าได้ เพราะเป็นเมนบอร์ดขนาดมาตรฐานที่ทุกค่ายต้องมี และมีหลายรุ่นด้วยตั้งแต่ราคาพันปลายๆไปจนถึงระดับหมื่นบาท จุดเด่นคงไม่ต้องพูดมาก นอกจากแรม 4 แถวแน่นอนแล้ว SATA 6-8 พอร์ตแน่น ยังรองรับการต่อการ์ดจอกลายตัวอีกด้วย ถ้าต้องการใช้การ์ดจอหลายๆตัว หรืออัพเกรทอุปกรณ์อื่น wifi card หรือพวก Capter card ก็ต้องเมนบอร์ดไซท์นี้ละครับลงตัวสุดแล้ว บางรุ่นสามารถใส่การ์ดจอได้ถึง 4 ตัวเลยก็มี เหมาะกับเพื่อนๆที่รักพี่เสียดายน้อง ไม่รู้จะใช้เมนบอร์ดขนาดไหนดี หรือต้องการติดตั้งอุปกรณ์เต็มอัตราศึก รับรองว่าขนาด ATX นี้ตอบโจทย์ทุกท่านได้แน่นอน
EATX
เป็นไซส์เมนบอร์ดที่ไม่ค่อยได้เห็นทั่วไปนัก แต่ถ้าให้นึกง่ายๆเลยก็คือกลุ่มตัวท๊อปของ X99 ของหลายๆค่ายที่มีแรมถึง 8 Slot นั่นละครับจะเป็นเมนบอร์ดไซท์นี้เลย ความสูงไม่ต่างจาก ATX ทำให้ PCIe มีจำนวนเท่าๆกัน แต่จะมีทางกว้างมากกว่าทำให้ใส่แรมได้มากกว่า รวมถึงพอร์ต SATA และออปชั่นอื่นเช่นระบบระบายความร้อนที่อลังการมากกว่า และราคาที่ส่วนใหญ่อยู่ระดับหมื่นอัพ เหมาะกับเพื่อนๆที่ใช้เคสขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เพื่อการตกแต่งที่มากกว่า รวมถึงต้องการสเปคและความแรงที่สูงสุด ประกอบเซ็ตนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดอย่างน้อยก็ต้องมี 50,000 บาท เป็นอย่างต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น