คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การเลือกซื้อ CPU ให้เหมือนมืออาชีพ

หลักการเลือกซื้อ ซีพียู ง่ายๆ 


ในการที่เราจะเลือกซื้อ ซีพียู สักตัวหนึ่งเพื่อมาประกอบกับฮาร์ดแวร์อื่นๆเพื่อทำงานหรือเพื่อความบันเทิงก็แล้วแต่ ในบทความนี้จะเป็นหลักการเลือกซื้อ ซีพียู ในยุค 2018 ที่จะทำให้คุณสามารถเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสมและคุ้มราคาที่สุด

งบประมาณ

สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อซีพียูนั่นคือ “งบประมาณ” จะสะท้อนถึงคุณภาพของเจ้าซีพียูโดยตรง เพราะผู้ผลิตเขาคิดมาไว้หมดแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ที่จะซื้อซีพียูราคา 5000 แล้วจะแรงกว่าหรือเท่าเทียม CPU ราคาหลักหมื่น



ค่ายไหนดีล่ะ?



               ปัญหาโลกแตกที่จะเลือกค่ายไหนดีระหว่าง Intel และ AMD ให้เลือก “ค่ายที่คุ้มค่ากับเงินและเหมาะสมกับงานของคุณ ในปัจจุบัน” เพราะแต่ละช่วงเวลานั้นก็จะมีฝั่งที่คุ้มราคาอย่างชัดเจน ซึ่งทั้งสองค่ายนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในราคาที่พอๆ กัน ซึ่งไม่สามารถเห็นชัดเจนได้ในการใช้งานทั่วไป
               แน่นอนว่าพอมาถึงยุคนี้เวลาเดินผ่านร้านคอมทีนึงเราก็มักจะเห็น CPU หลักๆอยู่สองค่ายคือ Intel กับ AMD ซึ่งมาถึงยุคนี้ทั้งสองค่ายก็มี CPU ใหม่ๆมาให้เราเลือกใช้กันทั้ง Coffee Lake และ Ryzen
               โดยทั้ง AMD และ Intel นั้นก็ต่างมีจุดดีและจุดด้อยที่แตกต่างกัน เพราะทาง Intel ก็ยังเน้น CPU ที่มีคอร์น้อยกว่าแต่ให้สัญญาณนาฬิกาที่มากกว่าในขณะที่ AMD จะให้คอร์และเทรดที่มากกว่าในราคาที่ถูกกว่า แต่ก็ให้สัญญาณนาฬิกาที่น้อยกว่าเช่นกัน สำหรับในส่วนของ IPC นั้นก็มีหลายเว็บไซต์เปรียบเทียบแล้วว่าในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
สำหรับ AMD แล้วนั้นบรรดาเหล่านักสตรีมเกมที่มีงบจำกัดนั้นจะเข้าถึงได้ดีกว่า เพราะถ้าหากต้องการสตรีมและให้ภาพที่คมชัดโดยไม่ต้องใช้บิทเรทสูงๆการเลือกใช้ CPU ในการ เข้ารหัสนั้นจะให้คุณภาพภาพที่ดีกว่า การนำ GPU มาช่วยในการเข้ารหัส ซึ่งนอกจากนี้การสตรีมเกมนั้นจะเน้นงานจำพวก “mega-task” ที่เน้นเปิดหลายๆโปรแกรม เพื่อการทำงานสตรีม ส่วนทาง Intel นั้นก็จะเน้นไปในด้านเล่นเกมล้วนๆ หรือผู้ผลิตคอนเทนท์ ที่เน้นงานในด้านเดียวและไม่ต้องการเปิดหลายๆวินโดวส์พร้อมๆกันนั้นน่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งในแพลทฟอร์ม HEDT (High End Desktop) ของ Intel ที่รองรับงานในแบบ “mega-task” นั้นก็มีราคารวมทั้งเซ็ตที่จะประกอบค่อนข้างสูงจนเกินไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่งบประมาณไม่สูงมากมายนัก
               เมื่อมองในส่วนของ Memory นั้นทาง Intel จะได้เปรียบจากการที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน XMP ทำให้ DDR4 Memory ที่มีค่า overclock ผ่านการใช้ Profile XMP นั้นใช้งานได้สะดวก
               ในขณะที่ทาง AMD ในส่วนของ Ryzen นั้นแนะนำให้ผู้ที่จะเลือกซื้อทำการศึกษาคู่มือของ Mainboard และดูรายชื่อของรุ่น Memory ที่รองรับให้ละเอียดก่อนจะออกไปซื้อ หรือเลือกใช้งาน Memory ที่มี Sticker รับประกันว่า Ryzen compatible ซึ่งจะมีในหลายๆรุ่น เช่น G.Skill Flare X ที่สามารถทำงานบน Ryzen platform ได้อย่างไม่มีปัญหา และทำงานได้ความเร็วตามที่โฆษณามาข้างกล่องจริงๆ เพราะตัว memory ผ่านการทดสอบมาอย่างละเอียดจากผู้ผลิต memory กับผู้ผลิต Motherboard แล้วนั่นเอง แล้วในช่วงหลังๆนี้จะมี memory ที่รับประกันความเข้ากันได้กับ Ryzen ออกมาขายมากยิ่งขึ้นไปอีก
               ส่วนสำหรับเรื่อง Bug ใน CPU platform ใหม่ๆนั้นทีมงานขอบอกเลยว่าโดยปกติแล้ว ไม่มี CPU ตัวไหนในโลกที่ออกมาปุ๊บแล้วไม่มี Bug เพราะในทุก platform นั้นตัว software เองก็ต้องมีการแก้ไขให้เข้ากันได้กับ Hardware ที่ออกมาใหม่ และทางผู้ผลิตเองก็จะมีการออก BIOS ออกมาปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดอยู่เนืองๆ ซึ่งถ้าพูดถึงในปัจจุบันแล้วปัญหาที่จะเกิดจากการใช้งานทั่วไปนั้นมีน้อยกว่าแต่ก่อนมากๆ ซึ่งหากต้องการใช้ Software เฉพาะทางแล้วล่ะก็ ก็สมควรที่จะเลือก CPU ที่ทำการ optimize มาให้เข้ากับงานที่เราต้องการใช้ แต่ถ้ามองในแง่การประกอบคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปแล้วตรงจุดนี้น่าจะไม่ส่งผลกระทบอะไรมากนักกับ software ทั่วๆไปที่เราๆท่านๆใช้งานกัน เพราะสามารถใช้งานได้ตามปกติ

               แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมาดูสถานการณ์ในไทยก็มีปัจจัยหลายอย่างทั้งตัวเลือกในการซื้อตามร้านที่เราสะดวก โดยในส่วนของ Coffee Lake นั้นรุ่นใหญ่ๆนั้นมีสินค้าจำกัด (ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้นต่างประเทศก็ของขาดตลาด) และการที่ต้องใช้บอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต Z370 เท่านั้น (ปัจจุบันยังไม่มีบอร์ดราคาถูกออกมา) ทำให้ราคารวมของการจัดสเปกนั้นถีบตัวสูงขึ้นแม้ผู้ใช้งานจะไม่สนใจการ overclock ก็ตาม
               ในช่วงท้ายนี้ก็หวังว่าผู้อ่านหลายๆท่านก็คงจะตัดสินใจได้ว่าจะเลือก AMD หรือ Intel โดยเปรียบเทียบในแต่ล่ะส่วนที่สนใจแล้วนำมาเปรียบเทียบเข้ากับความสนใจของแต่ละคนก็น่าจะเป็นไกด์สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อเครื่องใหม่ได้ ไม่ยากเลย


ความถี่ (Hz)

               ในเรื่องของความถี่หรือตัวย่อภาษาอังกฤษว่า Hz(เฮิร์ท) นั้น CPU ทุกตัวจะมีระบุไว้ที่กล่องทั้งหมด โดยปัจจุบันซีพียูในระดับเดสทอปจะมีความเร็วอยู่ที่ระดับ กิกะเฮริท(Ghz) ทั้งหมด ซึ่งค่าเฮิร์ทที่สูงขึ้น จะทำให้ประมวลผลในการทำงานต่างๆ เสร็จไวขึ้น รวมถึงเฟรมเรตในการเล่นเกมสูงขึ้นด้วย ต้องยอมรับว่า Intel สามารถทำได้ดีในเรื่องนี้
               แต่ปัจจุบันการแข่งขันเรื่อง Hz นั้นแทบจะไม่ใช่ตัวชูโรงหลักแล้ว เพราะการที่จะดันความถี่ของซีพียูให้ไปอยู่ในระดับสูงกว่านี้เรียกว่าถึงทางตันก็ว่าได้ เพราะความร้อนจะพุ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
เปรียบเทียบความเร็วของซีพียู

               ความเร็วของซีพียูมีหน่วยเป็น Hz (เห็นได้จากช่อง CPU Base Frequency) หรือความถี่ในการรับคำสั่งได้ในหนึ่งวินาที เช่น Intel Pentium รุ่นแรกมีความเร็ว 90 MHz ก็หมายความว่า มันสามารถรับคำสั่งมาทำงานได้ 90 ล้านครั้งต่อวินาที และจะสังเกตุว่าในปัจจุบันความเร็วพัฒนาขึ้นเป็นหลัก GHz หมดแล้วก็คือ 1000 MHz นั่นเอง เช่น Intel Core -i3 ความเร็ว 2.1 GHz จริงๆแล้วก็คือ 2100 MHz และนอกจากความถี่ตรงนี้แล้วความเร็วของระบบยังต้องการความกว้างของเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำหลักหรือ RAM อีกด้วยซึ่งใน Pentium II จะมีถนนส่งข้อมูลที้เรียกว่า FSB (Front Side Bus) นี้ 100 MHz แต่ปัจจุบันซีพียูมี Bus เกินกว่า 1333 MHz ไปแล้วซึ่งตรงนี้ก็ต้องสัมพันธ์กับ Bus ของ RAM เองด้วย 



คอร์(Core)

CPU ในเครื่องเดียวแบบสมัยก่อน ในสมัยก่อน เราจะไม่ค่อยได้ยินเรื่องจำนวน คอร์(Core) กันเท่าไหร่ เพราะซีพียู 1 ตัวมันก็มีแค่ 1 เท่านั้น 
แต่ยุคนี้ ซีพียู 1 ตัว มันมีมากมายหลายคอร์ ซึ่ง การมีหลายคอร์นั้นหมายถึง “คุณจะมีซีพียูหลายตัวมารวมอยู่ในตัวเดียว” เพื่อช่วยกันทำงาน ซึ่งจะเหมาะกับงานและเกมสมัยนี้มากเมื่อผู้บริโภคเน้นใช้งานแบบ Multi-Task หรือหลายหน้าต่างนั่นเอง
               CPU ในปัจจุบันนี้ที่เป็นแบบ Single core (1C), Dual core (2C), Quad core (4C) และ Octa core (8C) ถ้าเรากล่าวถึงสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน มีสิ่งหนึ่งที่เราต้องศึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อ นอกจากรูปลักษณ์ภายนอกและราคาแล้ว  หน่วยประมวลผลภายในหรือ CPU ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน CPU ที่เปียบเสมือนอวัยวะของสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ ที่ขับเคลื่อนการใช้งานผ่านการประมวลผลของชิปเซ็ต โดย CPU สามารถแบบประเภทได้ ดังต่อไปนี้
               CPU single-core (1 คอร์) -- คือ หน่วยประมวลผลที่มีการทำงานเพียงหนึ่ง Core หรือหนึ่งแกนสมอง การทำงานต่างๆอาจมีความล่าช้า หากใช้งานพร้อมกันหลายประเภท
               CPU dual-core (2 คอร์) -- คือ หน่วยประมวลผลที่มีการทำงานของสอง Core หรือสองแกนสมอง ก็จะมีการช่วยการแบ่งเบาภาระการทำงาน โดยมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
               CPU quad-core (4 คอร์) -- คือ หน่วยประมวลผลที่มีการทำงานถึงสี่ Core หรือมีสี่แกนสมอง จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นจาก 2 Core
               CPU octa-core (8 คอร์) -- คือ หน่วยประมวลผลที่มีการทำงานถึงแปด Core หรือมีแปดแกนสมอง 
               นอกจากจำนวนของ Core มีจำนวนมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้การประมวลผลมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ความเร็วของ CPU ก็ยังเป็นตัวแปรสำคัญในการประมวลผล ยิ่งมีความเร็วมากเท่าไหร่การประมวลผลของ CPU ก็จะตอบสนองการทำงานได้เร็วขึ้น แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่เรามักจะเจอ คือ การมี Core ในการประมวลผลมากเท่าไหร่ จะส่งผลให้แบตเตอร์รี่ลดลงอย่างรวดเร็ว


เทรด(threads)

               เทรด แปลแบบง่ายๆ ก็คือ “เส้นทางเดินข้อมูลที่จะเข้าไปสู่คอร์” ถ้าเปรียบได้ดั่งทางด่วนเป็นเทรด และตู้จ่ายบัตรเป็นคอร์ ถ้าตู้จ่ายบัตรสามารถทำงานได้มากกว่า 1 เส้นทางล่ะ ก็จะทำให้การจลาจลราบรื่นและใช้งานตู้จ่ายบัตรได้เต็มประสิทธิภาพลดสภาวะ “คอขวด” ซึ่งในเชิงของซีพียูไม่จำเป็นว่ามี 1 คอร์ต้องมีเพียง 1 เทรด

แล้วเราควรเลือกซื้อซีพียูแบบไหนที่เหมาะกับจุดประสงค์?

               สำหรับคนที่อ่านจนมาถึงหัวข้อนี้ ก็คงจะพอเข้าใจคร่าวๆแล้วว่า แต่ละอย่างมันมีความสำคัญอย่างไร แต่!! จะเอาไปเลือกซื้อยังไงให้เหมาะกับจุดประสงค์ของตนเอง ซึ่งหัวข้อนี้จะขอแนะนำคร่าวๆ เกี่ยวกับงานบางโปรแกรมและเกมโดยรวมนะ
  • งานกราฟฟิคด้านรูปภาพ – เช่น Photoshop illustrator แนะนำให้ใช้ซีพียู 4 คอร์ก็เพียงพอแล้ว

  • งานตัดต่อและเรนเดอร์วีดีโอ – แนะนำให้ใช้จำนวนคอร์ที่เยอะและถ้าเป็นไปได้ก็ Hz สูงด้วย เพราะจะทำให้ตอนเรนเดอร์งานนั้นรวดเร็วยิ่งขึ้นมาก แต่ถ้าใครไม่รีบร้อนอะไรมาก(รอได้) 4 คอร์ก็เป็นอะไรที่ยืนพื้นได้แล้ว และความจุ Ram เป็นส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

  •  งานออกแบบ 3 มิติ – ถ้าออกแนวทำการ์ตูน 3D แล้วมีการเรนเดอร์หนักๆด้วย ผมแนะนำสเปคซีพียูในแบบเดียวกับงานวีดีโอด้านบนคับ ในส่วนที่ทำให้การทำงานนี้ Smooth จะออกไปทางการ์ดจอมากกว่าครับ ไม่ใช่การ์ดเล่นเกมทั่วไปนะคับ จะเป็นการ์ดจอที่ออกแบบมาเฉพาะงานนี้ เช่น Nvidia Quadro และ ATI Firepro


  • ใช้งานทั่วไป – ดูหนัง(ไม่ 4k) ฟังเพลง โปรแกรมออฟฟิศ เล่นเกมเบาๆ ใช้ 2 core 4 thread ก็สบายๆแล้วครับสำหรับงบน้อย แต่ถ้าอยากเขยิบไปเผื่อหน่อยก็ 4 core 4 thread ก็ดีครับ ตระกูลที่แนะนำก็ Intel i3 และ AMD Ryzen3


  • เล่นเกม – มาถึงจุดประสงค์สุดท้าย สำหรับคนที่เล่นเกมไม่หนักรวมถึงเกมออนไลน์เช่น Dota CSgo Pubg  แนะนำอย่างมาตรฐานให้เป็นตระกูล Intel i5 และ AMD Ryzen5 ก็เพียงพอแล้ว (แบบไม่สาย Hardcore) เชื่อไหมว่าผมเล่นเกมพวกนี้ “CPU ยังวิ่งไม่ถึงครึ่งเลย!” สำหรับ 8 Core 16 Thread ส่วนใหญ่ในการเล่นเกมเราจะไปเน้น “การ์ดจอ” ที่แรงๆมากกว่าครับ(ความแรงมาพร้อมราคา!!) ในทางซีพียูถ้าสายจัดเต็มผมแนะนำให้ไปทาง Intel ที่มี Hz สูงๆ ด้วยครับ จะช่วยให้ได้เฟรมเรตที่มากขึ้น(i7 หรือ i9) แต่ถ้าคุณจะสตรีมสดด้วยในเครื่องเดียว ผมแนะนำให้มา AMD Ryzen7 หรือ 9 จะคุ้มราคากว่าครับ แต่ถ้าใครจัด Intel i9 ไปแล้วก็ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น