อ่านสเปก CPU หน้ากล่องซีพียู Intel และ AMD ดูอย่างไรเมื่อเลือกซื้อ
เชื่อว่าหลายๆ คน ที่กำลังจะซื้อซีพียูใหม่ หรือจะสั่งประกอบคอม นอกจากจะต้องพอรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่จะสั่งซื้อหรือประกอบให้ครบทั้งชุดแล้ว ก็อาจจะต้องเข้าใจในสเปกของซีพียูด้วยเช่นกัน ในการเลือกใช้งานให้ตรงกับความต้องการและยังต้องเข้ากันได้กับเมนบอร์ด ไม่เช่นนั้น เลือกผิดก็ต้องกลับไปเปลี่ยนใหม่ ยิ่งเวลานี้ซีพียูมีหลายรุ่น หลายซ็อกเก็ต หากไม่แน่ใจเลือกผิด เดี๋ยวจะงงไปใหญ่ การดูข้อมูลหน้ากล่องในเบื้องต้นได้ ก็พอจะช่วยให้คุณเลือกใช้งานได้ง่ายขึ้นสำหรับซีพียูจากค่าย Intel
สำหรับแพ็คเกจของค่าย Intel เรามักจะคุ้นเคยกันดี เพราะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก รายละเอียดต่างๆ ก็ถูกแจงเอาไว้เกือบครบถ้วนในตัวอยู่แล้ว ส่วนรายละเอียด ก็ตามกล่องแบบนี้ด้านหน้ากล่อง เกือบทุกรุ่น จะพิมพ์ให้เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นซีพียูซีรีส์ใด เช่น Core i3, i5 หรือ Core i7 หรือแม้กระทั่งซีพียู Pentium, Celeron ก็ตาม หน้ากล่องก็ยังมาพร้อมใบรับประกันจากผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการมาด้วย ตรงนี้เก็บไว้ให้ดี กรณีที่ต้องส่งเคลม
ถัดมาด้านล่าง จะบอกถึงรุ่น เช่น i7-6700, LGA1151 ซึ่งหมายถึงเป็นซีพียู Intel Core i7 ในรุ่น 6700, ใช้งานร่วมกับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA1151
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่พิมพ์ไว้บนลาเบลด้านข้างกล่อง จะประกอบไปด้วย
แถวบนสุด : เป็นตัวเลขที่บอกเอกลักษณ์ของซีพียู: เช่น i7-6700 (ชื่อรุ่น), 3.4GHz. (ความเร็วสัญญาณนาฬิกา) 8MB Cache, (L3-cache), LGA1151 (Socket)
Product Code: BX80662176700
S-spec: SR2L2 เป็นรหัสเฉพาะตัวของซีพียูแต่ละรุ่น ที่จะช่วยบอกคุณได้ว่าเป็นรุ่นอะไร โดยจะมีทั้งหน้ากล่องและบนตัวซีพียู ซึ่งผู้ใช้สามารถนำชุดรหัสดังกล่าวไปค้นหาสเปกได้ ที่นี่
S/N: xxxxxxxxxxxxxxxxxx
แหล่งที่ผลิต: Made in Malaysia
ต้องระวังในการเลือกใช้งาน Socket 1151 สำหรับ Intel Gen6, Gen7 (Chipset Intel 100, 200 series) และ Socket 1151 สำหรับ Intel Gen8 (Intel 300 series)
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่เป็น Batch# Code ที่สามารถบอกรายละเอียดคร่าวๆ ได้ดังนี้ อาทิเช่น L623F529
รหัสชุดแรก > หมายถึง แหล่งผลิต: L คือ มาเลย์เซีย
0 = San Jose, Costa Rica
1 = Cavite, Philippines
3 = Costa Rica
6 = Chandler, Arizona
7 = Philippines
8 = Leixlip, Ireland
9 = Penang, Malaysia
L = Malaysia
Q = Malaysia
R = Manila, Philippines
Y = Leixlip, Ireland
รหัสชุดที่ 2 > หมายถึง ปีที่ผลิต: 6 (2016)
รหัสชุดที่ 3 และ 4 > หมายถึง สัปดาห์ที่ผลิต: 23 (สัปดาห์ที่ 23)
รหัสชุดที่ 5 และ 6 > หมายถึง ล็อตที่: (529)
นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณเข้าใจในรหัสตัวเลขของซีพียูแต่ละรุ่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ข้อมูลจาก Intel® Processor Numbers ด้วยการดูจาก ที่นี่
วิธีเช็คสเปกและฟีเจอร์ต่างๆ ของซีพียู: สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ที่ Intel Processor Identification Utility
สำหรับซีพียูจากค่าย AMD
หน้ากล่องของ AMD รุ่นใหม่ จะแตกต่างจาก Box ของในรุ่นที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง แต่ยังคงระบุซีรีส์มาบนหน้ากล่อง และรายละเอียดส่วนใหญ่จะไปอยู่ในลาเบลที่แปะมาบนกล่องนั่นเอง
วิธีการดูรุ่น : ให้สังเกตจากรายละเอียดของลาเบลที่แปะมาบนกล่อง ประกอบด้วย
แถวบนสุด : เป็นตัวเลขที่บอกเอกลักษณ์ของซีพียู: เช่น Ryzen 7 1700X (ชื่อรุ่น) หรือถ้าเป็นรุ่นอื่นๆ ก็จะบอกเป็น Ryzen 3 หรือ Ryzen 5 เป็นต้น
8C / 16T (Core/Thread), 20MB cache (L3-cache) จำนวน Core/ Threadเป็นตัวเลขสำคัญที่ควรให้ความสนใจ
3.4GHz Base 3.8GHz Precision Boost (ความเร็วสัญญาณนาฬิกาปกติ / ความเร็วสัญญาณนาฬิกาเมื่อบูสท์)
S/N: xxxxxxxxxxxxxxxxxx
Socket AM4 (บอกถึงซ็อกเก็ตที่ใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด), Discrete graphic design (กำหนดให้ต้องใช้งานกราฟฟิกแยกหรือการ์ดจอนั่นเอง)
*No heatsink fan include (ระบุว่าไม่มีฮีตซิงก์มาให้ด้วย) *ฮีตซิงก์จะมีมาในกล่องในรุ่นที่ไม่ใช่ X series เท่านั้น
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีในการดูข้อมูลจากกล่องของซีพียู ครั้งต่อไปจะเป็นข้อมูลในการเลือกซีพียูและชิปเซ็ตบนเมนบอร์ด ของแต่ละรุ่นและแต่ละค่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้และประกอบคอมในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น