คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การเลือกการ์ดจอ แบบละเอียด

การ์ดจอคืออะไร?

               การ์ดจอหรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า GPU (Graphics Processing Unit) ก็เป็นหนึ่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่ใช้สำหรับแสดงผลจากการคำนวณของ CPU ออกมาแล้วให้ผลลัพธ์ผ่านพอร์ตเชื่อมต่อ VGA หรือ HDMI ออกไปเป็นภาพกราฟิกบนหน้าจอ แถมยังเป็นฮาร์ดแวร์ยอดฮิตที่มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับกราฟิกเกมที่มีความสมจริงขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ในปัจจุบันก็มีการ์ดจอวางจำหน่ายทั้งค่าย NVIDIA และ AMD ให้เลือกซื้อกันเต็มไปหมดแต่สำหรับมือใหม่ที่อยากจะถอยการ์ดจอตัวใหม่ก็คงจะต้องสับสนแน่ ๆ ว่าควรจะมีหลักการเลือกซื้ออย่างไรกันบ้าง  การ์ดจอเรียกอีกอย่างได้ว่า Graphic Card ซึ่งการเชื่อมต่อต้องเสียบตัวการ์ดเข้ากับช่องเชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า สล็อต มาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบันคือ สล็อต PCI และ PCI Express ซึ่งแบบ PCI Express จะมีมีความเร็วที่สูงมากกว่า PCI ธรรมดาโดยการ์ดจอจะถูกแบ่งประเภทออกได้ดังนี้

1. การ์ดจอแบบออนบอร์ด 

GPU_03
เป็นการ์ดจอแสดงผลกราฟฟิกที่มาพร้อมๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบราคาประหยัด  จะเป็นชิฟเซ็ต CPU ในตัวเองด้วย  แม้ว่าในปัจจุบันการ์ดจอแบบออนบอร์ดจะมีความสามารถในการเล่นเกมและดูหนังได้ก็จริง  แต่ก็ได้เพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น  ไม่เหมาะสำหรับการเล่นเกมที่ต้องใช้กราฟฟิกแบบหนักๆ ได้ 


2. การ์ดจอแยก 

GPU_04
เป็นการ์ดจอแสดงผลกราฟฟิกที่เป็นฮาร์ดแวร์แบบแยกขายต่างหาก  และถูกแบ่งออกเป็นอีกสองแบบคือ

               - การ์ดจอสำหรับใช้ด้านการทำงาน รองรับการทำงานของกราฟฟิก  มีความสามารถในการเรนเดอร์กราฟฟิกที่สูง  มีราคาที่ค่อนข้างแพง  และ “ไม่ค่อยเหมาะกับการเล่นเกมมากนัก” เพราะเนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานด้านเรนเดอร์กราฟฟิกเป็นหลัก  ทำให้การเล่นเกมนั้นค่อนข้างด้อยกว่าการ์ดจอแบบเล่นเกมอยู่มากทีเดียว

               - การ์ดจอสำหรับเล่นเกม รองรับการเล่นเกมเป็นหลัก  มีความสามารถในการแสดงผลของความละเอียดของหน้าจอหรือ Solution และการแสดงผลแบบ FPS (Frame Per Secondที่สูง  แต่ค่อนข้างจะกินไฟมากๆ

การ์ดจอออนบอร์ดและการ์ดจอแยกต่างไหม?

               การ์ดจอที่มีหน่วยประมวลผลกราฟฟิก GPU อยู่รวมกันในชิปเซ็ทที่รวมอยู่บนเมนบอร์ดแบบเบ็ดเสร็จจะถูกเรียกว่าการ์ดจอแบบ ออนบอร์ด และการ์ดจอที่แยก GPU ชุดกราฟฟิก แยกขาดจากชิปเซ็ทบนเมนบอร์ดและมีหน่วยความจำแยกขาดออกจากRAM หน่วยความจำหลักของเครื่องจึงเรียกว่าการ์ดจอแยก ความแตกต่างของการ์ดจอสองแบบนี้คือความเร็วในการประมวลผลด้านกราฟฟิก ซึ่งหากมีการแยก GPU ออกมาแต่ไปใช้หน่วยความจำรวมกับหน่วยความจำหลักในระบบก็จะทำให้หน่วยความจำหลักลดปริมาณลงเพราะต้องแบ่งไปให้ GPU ใช้งานร่วมด้วย การทำแบบนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องหน่วยความจำ GPU แต่ทำให้ระบบรวมเร็วขึ้นไม่มากเท่ากับการแยกหน่วยความจำต่างหาก

แล้วมีวิธีการเลือกซื้อยังไง ?

การ์จอมีมากมายหลายยี่ห้อให้เลือก ไหนจะต้องเลือกรุ่นอีก เดินเข้าไปซื้อมั่วๆก็ไม่ได้ เพราะราคาค่อนข้างจะสูง 

1. เมนบอร์ดที่รองรับ

ให้ดูที่ Socket ของเมนบอร์ดว่าสามารถรองรับกับขั้วทองเหลืองของการ์ดจอที่ต้องการใช้งานได้ไหม  
GPU_08
พอร์ต PCI Express ที่มีในเมนบอร์ดปัจจุบัน
















ตัวอย่างเช่น เมนบอร์ดในปัจจุบันแบบ PCI Express 2.0 Slots ต้องใช้ควบคู่กับการ์ดจอที่มีขั้วทองเหลืองแบบ PCI 2.0 หรือแบบ PCI E 3.0ได้  ทั้งนี้ให้ดูขั้วทองเหลืองของการ์ดจอด้วย 








2.ขนาดของเคสที่ใช้งาน  

GPU_09

ในส่วนนี้ถ้าเคสที่ใช้งานสามารถใส่เมนบอร์ดได้ก็สามารถใส่การ์ดจอได้เช่นกัน  เพราะมีพื้นที่สำหรับในการใส่การ์ดจออยู่แล้ว  แต่จะมีปัญหาด้านความร้อนอยู่บ้าง  ถ้าเคสมีระบบการระบายความร้อนที่ไม่ดีพอ  


3.ดูรหัสการ์ดจอให้เป็น


               ไม่ว่าจะ NVIDIA ก็ดีหรือ AMD ก็ดีการเลือกซื้อขั้นพื้นฐานและสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดเลยก็คือรหัสการ์ดจอ ต้องดู Gen(ตระกูล) ให้เป็น เราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่า การ์ดจอที่เราซื้อมานั้นมันรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่?

ยกตัวอย่างใน Gen ของ nVidia นั้นจะไล่มาตามนี้
  • GTX7xx
  • GTX8xx
  • GTX9xx
  • GTX10xx
สังเกตได้ตรง 7 8 9 และ 10 จะเห็นว่ารุ่นที่มีเลขสูงกว่า นั่นคือ Gen ที่ใหม่กว่า 
               ในส่วนที่เป็น xx นั้นคือรุ่น ตัวเลขที่ต่ำคือความแรงน้อย สูงสุดจะแรงที่สุด ส่วนใหญ่ nVidia จะไล่ระดับตั้งแต่ 30 40 จนถึง 80 
มาถึงในส่วน AMD นั้นการดูก็จะคล้ายกับ nVidia  สามารถดูได้ตามที่อธิบายด้านบนได้เลย แต่จะใช้รหัสนำหน้าเป็น RX
  • RX4xx
  • RX5xx
ไม่ว่าจะเลือกค่ายไหนก็ตาม แนะนำให้เลือกซื้อไปที่ Gen ใหม่ก่อน เพราะเทคโนโลยีต่างๆได้ถูกพัฒนาจาก Gen ก่อนๆ เสมอ

4.RAM การ์ดจอไม่สำคัญเท่า Bandwidth และ Bus Width

ตารางเปรียบเทียบการ์ดจอแต่ละรุ่น

               การซื้อการ์ดจอที่มี RAM สูง ๆ ก็ใช่ว่าจะได้ประสิทธิภาพที่สูงเสมอไปซึ่งการจะให้การ์ดจอแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องดูปัจจัยอื่นที่มากกว่า RAM เช่น Bandwidth และค่า Bus Width ที่เปรียบเหมือนช่องทางการรับส่งข้อมูลซึ่งถ้าหากค่า Bus Width สูงก็เหมือนกับช่องทางที่กว้างสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นไหลลื่นขึ้นซึ่งต่อให้การ์ดจอที่มี RAM เพียง 1.5 GB มีค่า Bus Width สูงกว่าย่อมมีประสิทธิภาพกว่าการ์ดจอ RAM 2 GB แต่มีค่า Bus Width น้อยครับฉะนั้นการเลือกซื้อการ์ดจอต้องดูข้อมูลมากกว่า RAM ไม่งั้นอาจจะโดนหลอกก็เป็นได้
               อย่างไรก็ตาม RAM ก็ยังสำคัญอยู่โดยเฉพาะกับความละเอียดหน้าจอยิ่งมีหน้าจอละเอียดมากแค่ไหนก็ต้องใช้ RAM ยิ่งสูงแต่ถ้าหากผู้ใช้มีหน้าจอความละเอียดสูงมากกว่า 1920×1080 ขึ้นไปก็ขอแนะนำง่าย ๆ เลยว่าให้เลือกการ์ดจอระดับ High-End ไปเลยดีกว่าเพราะตัว RAM หรือข้อมูลอื่น ๆ จะเป็นค่ามาตรฐานรองรับได้อยู่แล้ว

ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะทำการตลาดไปที่ Ram ว่าเยอะขนาดนั้นขนาดนี้ สังเกตุได้ที่กล่องการ์ดจอระดับล่างหรือกลาง ตัวหนังสือ Ram จะใหญ่กว่าปกติทั้งนั้น เพื่อปกปิดส่วนที่ด้อยกว่า


"แต่จริงๆแล้ว Bus Width นั้นสำคัญกว่า Ram" 

               เนื่องจาก Bus Width เป็นเหมือนทางเดินที่จะนำพาข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล แน่นอนเลยว่าช่องทางที่กว้าง จะสามารถนำพาข้อมูลไปได้เร็วกว่า ส่วน Ram ที่มากมายนั้นเป็นเพียงตัวพักข้อมูล ลองคิดดูว่า Ram 10G เหมือนลานจอดรถขนาดใหญ่ แต่ทางออกดันมีแค่เลนเดียว รถออกพร้อมกันมันจะติดขนาดไหน?? เปรียบเทียบกับมีทางออก 4 เลน รถก็สามารถออกไปได้รวดเร็วกว่า 



"แบบนี้เราก็เลือกที่ Bus Width สูงๆสิ!"

แต่! ข้อจำกัดคือ “เงินน่ะมีไหม…” เรื่อง Bus width นี่ทางผู้ผลิตตั้งการตลาดการ์ดจอเล่นเกมมาชัดเจนมากครับ จะแบ่งเป็นระดับ Bus Width ไว้ดังนี้ 

Gen GTX10xx และ GT10xx GT1030 เป็นการ์ดจอระดับล่างที่มี Bus Width อยู่ที่ 64bit 
GTX1050 เป็นการ์ดจอระดับกลาง Bus Width อยู่ที่ 128bit 
GTX1060 เป็นการ์ดจอระดับกลางสูง Bus Width อยู่ที่ 192bit 
GTX1070 และ GTX1080 เป็นการ์ดจอระดับสูง Bus Width อยู่ที่ 256bit 
GTX1080ti เป็นการ์ดจอเล่นเกมระดับ Hi-End มี Bus Width อยู่ที่ 352bit 

จะเห็นได้ว่า เราไม่สามารถมาลด Ram และมาเพิ่ม Bus Width ได้เลยนอกจากขยับงบประมาณเพิ่มขึ้นที่จะได้ Bus Width ที่สูงขึ้น


5.ความละเอียดในการแสดงผล (Resolution)

               เราจะได้ยินยอดฮิตสมัยนี้ไม่ว่าจะดูหนังหรือเล่นเกมก็ตาม นั่นก็คือ “4K” นั่นหมายถึงความละเอียดในการแสดงผล ซึ่งปกติโดยพื้นฐานแล้วเราจะเล่นเกมกันที่ความละเอียด Full HD (1920×1080) 

แต่ถ้าการ์ดจอแรงๆอย่าง 1080ti แล้วนั้น สามารถรันที่ความละเอียดถึง 8K เลยทีเดียว
แต่! การที่เราจะเล่นเกมที่ความละเอียดสูงๆนั้น จะทำให้ FPS ร่วงลงตามไปด้วย พวกเกมเมอร์เสพกราฟฟิคสุดติ่งจึงต้องนำการ์ดจอหลายตัวมา SLI หรือ Crossfire เพื่อชดเชยเฟรมเรตที่ตกลงไป ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าการ์ดจอรันที่ 4K ได้ แต่จอมอนิเตอร์เรายังเป็นเพียง Full HD มันก็จะแสดงผลมากสุดได้ตามหน้าจอของเรานะ
ถ้าใครอยากเล่นเกมที่ความละเอียดสูง เช่น 4K ควรมองหาจอมอนิเตอร์ที่ซัพพอร์ตด้วย

6.เลือกการ์ดจอให้เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ของเราด้วย

               อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ก็สำคัญไม่แพ้การ์ดจอเช่นกันโดยเฉพาะพวก CPU ที่ใช้ก็ควรจะต้องเหมาะสมหรือสัมพันธ์กันกับการ์ดจอด้วยเพราะถ้าหากคุณใช้ CPU รุ่นเก่าจำพวก Celeron , Pentium , Sempron หรือ Athlon X2 ก็ไม่ควรที่จะนำการ์ดจอแรง ๆ ระดับท็อปมาใช้เพราะมันจะส่งผลเสียและแสดงประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่ซึ่งทางที่ดีควรจะซื้อการ์ดจอในระดับกลางจะดีกว่าแถมยังประหยัดเงินไปได้อีกเยอะ แต่ถ้าหากอยากจะให้เกมที่เล่นแสดงผลได้เต็มสูบก็ควรจะต้องเปลี่ยน processor ใหม่ให้เข้ากับการ์ดจอด้วยและในกรณีที่มีหน้าจอเก่า ๆ ความละเอียดต่ำกว่า 1280×1024 ก็ เช่นเดียวกัน ควรจะเลือกการ์ดจอในระดับที่เท่ากันเพื่อจะได้ไม่เสียเงินโดยไม่จำเป็น

7.Power Supply ก็สำคัญนะ


               นอกจากจะต้องดูรายละเอียดของการ์ดจอให้ดีแล้วอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เปรียบเหมือนหัวใจหลักก็คือ Power Supply นั่นเองเพราะการ์ดจอเป็นสิ่งที่ใช้ไฟเยอะมากที่สุดและถ้าหากเรามี Power Supply ตัวดี ๆ มันก็จะสามารถจ่ายกระแสไฟไปเลี้ยงได้เพียงพอและในขณะเดียวกันถ้าหากเรามี Power Supply ที่ไม่สัมพันธ์หรือมีประสิทธิภาพต่ำกว่ากับตัวการ์ดจอแล้วหล่ะก็อาจจะเกิดฝันร้ายของชาว PC เช่นอาจจะทำให้ฮาร์ดแวร์บางอย่างในเครื่องไหม้ก็ได้ครับ ทางที่ดีถ้าหากจะซื้อการ์ดจอก็ควรดูด้วยว่า Power Supply ที่มีนั้นเหมาะสมหรือไม่หรือจะลงทุนซื้อ Power Supply ใหม่ไปเลยก็เป็นทางเลือกที่ดีครับโดยมียี่ห้อแนะนำอย่างเช่น Corsair , Antec และ Seasonic โดยมีราคาระดับหลักพันขึ้นไปซึ่งขอแนะนำตรงนี้เลยว่าให้ลงทุนซื้อ Power Supply ตัวดี ๆ ครั้งเดียวไปเลยครับคุ้มค่าแน่นอน

8.ดูระบบระบายความร้อนของการ์ดจอประเภท Reference และ Non-Reference

 การ์ดจอ Founders Edition, Ref, Non-Ref คืออะไร ต่างกันอย่างไร ? (คลิก)

ในปัจจุบันนี้การ์ดจอก็มีระบบพัดลมระบายความร้อนเพื่อรองรับกับการทำงานหนัก ๆ ซึ่งแต่ละค่ายแต่ละรุ่นก็มีดีต่างกันไปแต่ทั้งหมดทั้งมวลมันสามารถแบ่งประเภทของการ์ดจอหลัก ๆ ได้ 2 แบบคือการ์ดจอแบบ Reference และการ์ดจอแบบ Non-Reference 



Non-Reference ก็จะเป็นการ์ดจอที่มีชิปจาก NVIDIA หรือ AMD เหมือนกันแต่การดีไซน์ภายนอกจะมาจากผู้ผลิตเจ้าอื่นสามารถปรับแต่งได้ยืดหยุ่นหรือทำ Overclock ได้ดี


สำหรับการ์ดจอแบบ Reference นั้นจะเป็นการ์ดจอที่มาจากโรงงานผู้ผลิตจาก 2 ค่ายดัง ได้แก่ NVIDIA กับ AMD โดยมีการออกแบบรูปร่างดีไซน์รวมถึงชิปทั้งหมดมาจากผู้ผลิต  




               โดยทั้ง 2 ประเภทจะมีข้อแตกต่างในเรื่องของพัดลมระบายอากาศซึ่งการ์ดจอแบบ Non-Reference จะแสดงประสิทธิภาพได้ดีกว่านิดหนึ่งรวมไปถึงฟีเจอร์เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการดีไซน์สวยกว่า , ประหยัดไฟมากขึ้นหรือมีสเปคที่รองรับเกมได้ดีกว่าแบบ Reference ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานแล้วว่าต้องการที่จะซื้อมาทำอะไรเช่นถ้าอยากจะเล่นเกมหนัก ๆ เป็นชีวิตจิตใจซื้อเกมใหม่มาลองเล่นตลอดตัวการ์ดจอแบบ Non-Reference ก็จะดูดีกว่าแต่ถ้าเล่นเกมหนักบ้างเบาบ้างหรือใช้ทำงานไปด้วยการ์ดจอ Reference อาจจะเป็นคำตอบที่ใช่แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้ว่าชอบแบบไหนมากกว่ากันโดยราคาของทั้งคู่ก็ไม่หนีไปจากกันมากเท่าไหร่
               ก็จะเห็นว่าการซื้อการ์ดจอใหม่มาสักหนึ่งตัวจำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เยอะมากทีเดียวครับและหวังว่า Tips ที่นำมาเสนอนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ตัดสินใจเลือกซื้อการ์ดจอได้ง่ายขึ้น


9.ประกัน (Warranty)

               สิ่งสุดท้ายที่จะพูดถึงและก็สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ นั่นคือ “ประกัน” ปกติถ้าเราไปถอยการ์ดจอมาใหม่ ทางร้านจะประกันให้ 3 ปี ซึ่งก็เพียงพอแล้วในการใช้งานปกติ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดมีโอกาสพังตั้งแต่ออกมาจากโรงงานได้ แต่ถ้าใครไปถอยมือสองมาสิ่งที่ควรระวังในยุคดิจิตอลนี้ก็คือ…
การ์ดจอขุดเหรียญมาหรือไม่?
               เพราะพวกการ์ดจอที่ใช้ขุดเหรียญดิจิตอลนั้น ใช้มาแบบสมบุกสมบันมาก ทำงาน 100% 24 ชั่วโมง และพวกนี้จะมาเร่ขายหลังจากขุดเหรียญได้เท่าทุนแล้วขายการ์ดจอทิ้งเพื่อทำกำไร ซึ่งการดูหรือคาดเดาเป็นไปได้ยาก เพราะการ์ดจอมันไม่มีปากบอกว่า “เอ้ยตูขุดมานะเว้ย!!” ดังนั้นการเลือกซื้อการ์ดจอมือสองจึงต้องเป็นการคาดเดาและระวังราคาที่ถูกผิดปกติ


"แนะนำให้ซื้อใหม่ดีกว่า ถ้าไม่รู้ประวัติการ์ดจอตัวนั้นว่าใช้เล่นเกมหรือขุดเหรียญ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น